คุณแม่หลายคนที่ตั้งท้อง คงมีเรื่องให้เครียดหลายอย่าง โดยเฉพาะเรื่องของเจ้าตัวน้อยที่กลัวว่าลูกจะเกิดความผิดปกติอะไรขึ้นบ้างหรือเปล่า ดาวน์ซินโดรม (Down syndrome) ก็เป็นหนึ่งในโรคที่เหล่าคุณแม่กลัวมาก ๆ ว่าจะเกิดขึ้นกับลูกของตัวเอง เพราะเด็กที่เป็นโรคนี้จะมีความผิดปกติเกิดขึ้น ทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญหา และในเรื่องของพัฒนาการ ซึ่งเป็นโรคที่ทำให้เกิดภาวะบกพร่องขึ้นทางสติปัญหาได้ ทั้งนี้ก็มีทั้งระดับที่เบา ปานกลาง ไปจนถึงระดับมากเลย แม้ว่าจะเป็นโรคที่เคยได้ยินกันบ่อย ๆ อยู่แล้วก็ตาม แต่คุณแม่ หรือบางคนก็อาจจะยังไม่ทราบว่าโรคนี้เป็นอย่างไร หรือมีอาการแบบไหน ในบทความนี้มีคำตอบ

ดาวน์ซินโดรม (Down syndrome) คืออะไร

ดาวน์ซินโดรม (Down syndrome) เป็นกลุ่มอาการที่มาจากภาวะโครโมโซมเกิดความปิดปกติขึ้น โดยผู้ที่เป็นโรคนี้มักจะมีโครโมโซมของเซลล์คู่ที่ 21 ในร่างกายที่เกินมาทั้งอัน หรืออาจจะเป็นการเกินมาในบางส่วน ทั้งนี้ปกติแล้วปกติคนเราจะมีโครโมโซม 23 คู่ หรือ 46 แท่งนั่นเอง ซึ่งผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้มักจะมีพัฒนาในเรื่องของพัฒนาการ เนื่องจากจะมีพัฒนาการที่ช้า อีกทั้งยังมีใบหน้าที่เป็นลักษณะเฉพาะ เมื่อพบเจอก็ทราบได้ทันทีว่าเป็นโรคนี้แน่นอน รวมถึงโรคดาวน์ซินโดรมยังทำให้ผู้ที่เป็นเกิดความบกพร่องทางสติปัญญาในระดับเล็กน้อยไปจนถึงมากได้ 

สำหรับระดับเชาวน์ปัญญาของผู้ที่เป็นโรคดาวน์ซินโดรมนั้น หากว่าเป็นผู้ใหญ่จะมีเชาวน์ปัญญาเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 50 ซึ่งจะเทียบเท่ากับเชาวน์ปัญญาของเด็กที่มีอายุ 8-9 ขวบ แต่ทั้งนี้ ระดับของเชาวน์ปัญญาในผู้ป่วยแต่ละคนนั้นก็อาจจะมีความแตกต่างกันออกไปได้เมื่อโตขึ้น อีกทั้งหากผู้ป่วยโรคดาวน์ซินโดรมมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพก็จะต้องได้รับการดูแลมากกว่าผู้คนทั่วไปที่มีสุขภาพร่างกายปกติ

อาการของผู้ป่วยดาวน์ซินโดรม

อาการของผู้ป่วยที่เป็นดาวน์ซินโดรมนั้น ที่เห็นได้ชัดเลยคือ เรื่องของโครงสร้างใบหน้า โดยผู้ป่วยจะมีหน้าที่แบน หัวเล็ก ตาเรียว หางตาจะมีความเฉียงขึ้น หูเล็ก คอสั้น นิ้วสั้น มือสั้น เท้าสั้น ตัวเตี้ย แขนขาก็จะสั้นกว่าคนทั่วไปที่อยู่ในวันเดียวกัน และยังมีจุดสีขาวที่บริเวณตาดำด้วย อีกทั้งยังมีอาการลิ้นจุกอยู่ที่ปาก มีอาการตัวอ่อน กล้ามเนื้อหย่อน ข้อต่อก็หลวม รวมถึงผู้ป่วยจะมีเชาวน์ปัญญาอยู่ในระดับต่ำ ทำให้สามารถพัฒนาการได้ช้า 

สำหรับโรคดาวน์ซินโดรมนั้น โดยปกติแล้วจะไม่มีการถ่ายทอดไปทางพันธุกรรม แต่ความผิดปกติที่เกิดขึ้นนั้นจะมาจากโครโมโซมที่อยู่ในสเปิร์ม หรือในไข่ก่อนที่จะมีการปฏิสนธินั่นเอง แต่ทั้งนี้ก็ยังต้องมีการตรวจโครโมโซมของผู้เป็นพ่อ และแม่ด้วยว่า จะเป็นพาหะที่ทำให้เกิดโรคนี้กับลูกหรือไม่ เนื่องจากว่าอาจจะมีโอกาสที่ทำให้เกิดซ้ำกับลูกคนต่อไปได้นั่นเอง

Explore More

รู้เท่าทันโรคเบาหวาน รู้ก่อนที่มันจะสายเกินไป

โรคเบาหวาน
December 9, 2022 0 Comments 1 tag

โรคเบาหวาน หนึ่งในโรคกลุ่มเสี่ยงที่ร้ายแรงถึงขั้นสามารถเสียชีวิตได้ถ้าหากไม่ทำการรักษา หรือละเลยการรักษาที่ถูกวิธีจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และยังเป็นโรคที่จะนำมาสู่อาการของโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ มากมายที่จะตามมาเช่น โรคหัวใจ โรคความดัน โรคไต และอื่น ๆ อีกมากมาย โดยเบาหวานนี้สามารถเกิดขึ้นได้จากหลาย ๆ สาเหตุที่แตกต่างกันไป ซึ่งในบทความนี้เราจะมาดูกันว่าโรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้อย่างไรบ้าง  เรียนรู้โรคเบาหวาน โรคใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม  ในคนทั่ว ๆ ไปเมื่อรับประทานอาหารเข้าสู่ร่างกาย น้ำตาลในเลือดก็จะสูงขึ้น หลังจากนั้นร่างกายจะทำการปล่อยฮอร์โมนอินซูลิน ออกมาเพื่อพาน้ำตาลเหล่านั้นเข้าสู่เซลล์ในร่างกาย แต่สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานนั้น เมื่อรับประทานอาหารเข้าไปแล้วนั้น น้ำตาลในเลือดจะพุ่งสูงกว่าปกติ เพราะเกิดจากความผิดปกติของตับอ่อนส่งผลให้การหลังฮอร์โมนอินซูลินน้อยกว่าปกติ หรือเกิดภาวะดื้ออินซูลิน ส่งผลให้อินซูลินออกฤทธิ์ได้ไม่เต็มที่นัก